<aside> <img src="https://prod-files-secure.s3.us-west-2.amazonaws.com/3c0dd068-09d4-4b2c-b0dc-7ed0cfa04259/4559ff37-73dd-4f4c-a8dd-66670b7516b7/Logos_know-edge_type_B.jpg" alt="https://prod-files-secure.s3.us-west-2.amazonaws.com/3c0dd068-09d4-4b2c-b0dc-7ed0cfa04259/4559ff37-73dd-4f4c-a8dd-66670b7516b7/Logos_know-edge_type_B.jpg" width="40px" /> โดย: ชัยยุทธ์ ชำนาญเลิศกิจ December 25, 2019 | know-edge.org

</aside>

(ภาพประกอบจากโครงการ School Entrepreneurship ซึ่งจัดโดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในปี 2016)

(ภาพประกอบจากโครงการ School Entrepreneurship ซึ่งจัดโดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในปี 2016)

😏😏😏😏😏😏😏😏😏😏😏😏😏😏😏😏😏

เดี๋ยวนี้ใครต่อใคร พูดกันแต่เรื่องของสตาร์ทอัพ

เด็กนักเรียน นักศึกษา คนทำงานแล้ว ถูกเคี่ยวเข็ญให้ไปเป็นสตาร์ทอัพ

เรียกว่าทุกคนหายใจเข้าออกเป็นสตาร์ทอัพกันไปหมด แต่ไม่มีคนอธิบายว่าสตาร์ทอัพคืออะไร

ทุกคนพูดเพียงแต่ว่าสตาร์ทอัพคือแนวทางการนำประเทศไปสู่ยุค 4.0

และยังมีคนจำนวนมากที่สงสัยอยู่ว่า มันจริงแค่ไหน? หรือจะเป็นการต้อนให้คนไปตายหมู่ในธุรกิจสตาร์ทอัพ

อย่างไรก็ดี ถ้าคนจำนวนมากยังหางานทำไม่ได้ หรือได้งานที่ยังไม่ถูกใจ สตาร์ทอัพอาจจะเป็นคำตอบอย่างหนึ่ง

นี่เป็นเหตุผลประการหนึ่งที่ทางภาครัฐ ซึ่งขยันจัดโปรแกรมสนับสนุนสตาร์ทอัพ แต่ก็เกิดสตาร์ทอัพที่แท้จริง น้อยมาก

ดังนั้นผมจึงอยากจะนำประสบการณ์ จากที่เคยเป็นผู้บริหารตลาดทุน และเคยทำหน้าที่ในการสร้างเสริมสตาร์ทอัพ เหล่านี้มาแชร์ให้ฟัง

แต่ก็คงต้องออกตัวก่อนว่า อันนี้เป็นเพียงเศษเสี้ยวหนึ่งเท่านั้น ไม่มีใครสามารถพูดถึงสตาร์ทอัพได้อย่างครอบคลุม ทั้งนี้สตาร์ทอัพที่เอาแต่เรียนหนังสือ หรือไปจำคำพูดของผู้รู้ต่างๆ ไม่มีวันที่จะเป็นสตาร์ทอัพได้ครับ เนื่องด้วย สตาร์ทอัพเป็น วิถึในการแก้ไขปัญหาแบบหนึ่ง ซึ่งตัวเองจะต้องกำหนดปัญหาด้วยตัวเองให้ได้เสียก่อน แล้วถึงค่อยหาวิธีแก้ไขปัญหา ถึงตอนนั้นอาจจะหยิบยืมจากประสบการณ์หรือความรู้ของผู้อื่นได้

ดังนั้นสตาร์อัพที่เริ่มต้น โดยฟังมาจากบรรดากูรูทั้งหลาย จึงประสบความสำเร็จน้อยมาก

ซึ่งสอดคล้องกับคำขวัญในตลาดทุนที่ว่า “การลงทุนมีความเสี่ยง นักลงทุนควรจะศึกษาข้อมูลต่างๆ ด้วยตนเองให้ดีเสียก่อน”

ในมุมของผู้สนับสนุน ทุกวันนี้เรามักจะเริ่มการสอนสตาร์ทอัพ เหมือนการสอนคนว่ายน้ำไม่เป็น ให้รู้หลักการว่ายน้ำประมาณ ครึ่งชั่วโมง แล้วถีบลงทะเลที่เชี่ยวกรากเลย

หรือถ้าไม่ถีบลงทะเล ก็จะเป็นบ่อน้ำตื้นๆ ที่ไม่มีทางจม ดังนั้นผู้เรียนพอเจอทะเลตัวจริง ก็มีเปอร์เซ็นต์สูงที่จะจมอยู่ดี

ซึ่งที่จริงการเรียนรู้เรื่องสตาร์ทอัพนั้นกว้างใหญ่ไพศาลมาก สอนกันเป็นปีๆ ก็ยังไม่จบไม่สิ้น

ดังนั้นคติที่สำคัญสำหรับสตาร์อัพคือ "ลงมือทำ มีโอกาสมากกว่านั่งอยู่ในห้องเรียน"

ดังนั้นในตอนที่ 1 นี้ จะพูดถึงทะเล หรือวงการสตาร์ทอัพเสียก่อน เพื่อให้เข้าใจว่าทะเลที่เชี่ยวกรากนั้นเป็น อย่างไร และกลยุทธที่ใช้กันทั่วไป ในการเอาตัวรอดจากทะเล ดังกล่าว