<aside> <img src="https://prod-files-secure.s3.us-west-2.amazonaws.com/3c0dd068-09d4-4b2c-b0dc-7ed0cfa04259/c62351f8-6e18-4ae2-a2e2-82af0cd2ebd6/Logos_know-edge_type_B.jpg" alt="https://prod-files-secure.s3.us-west-2.amazonaws.com/3c0dd068-09d4-4b2c-b0dc-7ed0cfa04259/c62351f8-6e18-4ae2-a2e2-82af0cd2ebd6/Logos_know-edge_type_B.jpg" width="40px" /> โดย: ชัยยุทธ์ ชำนาญเลิศกิจ Ph.D. in Good Governance Development 20 ตุลาคม 2565

”ข้อความในบทความนี้ เป็นความคิดเห็นอันเป็นอิสระของผู้เขียน อันเกิดจากความรู้และประสบการณ์ตรงกว่า 40 ปี รวมถึงการค้นคว้าอย่างเป็นอิสระจากแหล่งข้อมูลดิจิทัลที่เป็นปัจจุบัน”

Short URL: https://bit.ly/3pG4Lyo

#รักมิใช่ดวงดาวเมื่อพราวแสง #DataManagement #DataGovernance #DataGovernanceFramework

</aside>

FB 2022-0930.jpg

Image Credit From: https://larrycuban.wordpress.com/2018/05/26/cartoons-on-using-data-to-make-decisions/

Image Credit From: https://larrycuban.wordpress.com/2018/05/26/cartoons-on-using-data-to-make-decisions/

วันนี้เรามาเริ่มกันที่ วลีฮิต #รักมิใช่ดวงดวงที่พราวแสง กันสักนิดนะครับ

สำหรับประเทศไทย คำว่า “ธรรมาภิบาลข้อมูล” หรือ Data Governance ยังคงเป็นคำที่ไม่ค่อยเข้าใจกันมากนัก

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง องค์กรทั้งหลาย ซึ่งมีการใช้ข้อมูลในการดำเนินงานหรือทำธุรกิจ กันมาช้านาน แต่ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจถึงความสำคัญ หรือความจำเป็นของการควบคุมการใช้ข้อมูลในองค์กร

ผู้บริหารระดับสูง หรือ บรรดา “เจ้านาย” ส่วนใหญ่จะมักจะฟังรายงานจากลูกน้อง มากกว่าที่จะสืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ และตัดสินใจด้วยตัวเอง

ซึ่งเมื่อลูกน้องรายงานขึ้นมา มักจะเกิดสองกรณีคือ

กรณีแรก เชื่อตามลูกน้องเป็นส่วนใหญ่ เพราะก็ไม่มีข้อมูลอะไรที่จะไปเถียงลูกน้อง

หรือ กรณีที่สอง คือ ถ้ารายงานไม่โดนใจ ก็ให้ลูกน้องกลับไปทำมาใหม่ จนกว่าจะโดนใจ และลูกน้องก็มักจะปวดหัวว่า เจ้านายมีบรรทัดฐานอะไร จึงคิดอย่างนี้

ซึ่งทั้งสองกรณี มักจะเกิดขึ้นพอๆ กัน ในองค์กรแบบไทยๆ

ปัญหาก็คือ ถ้าสถานการณ์ต่างๆ ขององค์กร มีการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ ก็มักจะไปก้นได้ดี เนื่องจาก “บุญเก่า” ขององค์กรที่สะสมกันมานาน

แต่ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หรือเกิดภาวะวิกฤต บุณเก่าก็อาจจะไม่เพียงพอ ที่จะรองรับกันได้ จึงต้องมีการพังทลาย กันไปเป็นฝ่ายๆ

ถ้าเป็นองค์กรเอกชน ก็จะเห็นการล้มหายตายจากกันไป หรือไม่ก็ บรรดาเจ้านาย ก็ต้องเปลี่ยนตัวกันไป เป็นปกติ เพื่อจะให้องค์กรอยู่รอดได้

แต่ถ้าเป็นราชการ เรื่องนี้มักจะไม่ค่อยเห็น เพราะหน่วยงานรัฐ ยุบไม่ได้ การเปลี่ยนแปลงเจ้านาย มักจะเกิดจากเหตุผลอื่น มากกว่าเรื่องการทำงานที่บกพร่อง

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าภาคราชการจะให้ความสำคัญของการควบคุมและดูแลข้อมูล น้อยกว่าองค์กรเอกชน อย่างไม่สามารถเทียบกันได้

จุดกำเนิดของ ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ

พูดถึงเรื่องนี้ ต้องยกเครดิตให้ทาง สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ภายใต้สังกัดของสำนักนายก หรือ เราจะเรียกกันง่ายๆ ว่า DGA (Digital Government Agency) หรือ สพร. ในภาคภาษาไทย

เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2563 ทาง DGA ได้ออกประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งเป็นการกำหนด Requirement ให้หน่วยงาานภาครัฐ ทุกหน่วยงาน ต้องมี “ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ” ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ที่มีการกำหนด ธรรมาภิบาลข้อมูล อย่างเป็นทางการ

ท่านสามารถดูประกาศ และข้อมูลที่เกี่่ยวข้องได้จากทาง DGA ตามลิงค์ดังนี้

https://www.dga.or.th/policy-standard/standard/dga-005/dga-006/

capture_001_08102022_123535.jpg

สรุปสาระสำคัญ ของประกาศ เป็นภาษาง่ายๆ ได้ดังนี้

<aside> 🌟 ให้หน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยงาน ดำเนินการให้เกิด ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ตามคู่มือท้ายประกาศ ซึ่งมีอยู่ 92 หน้า

🌟 “มาตรฐานขั้นต่ำ” ของธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐมีดังต่อไปนี้

  1. กำหนดความรับผิดชอบ ของผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการบริหารข้อมูล (Data Management) ของหน่วยงาน
  2. วางแผน ปฏิบัติ ตรวจสอบ รายงาน และปรับปรุง การดำเนินงานเพื่อให้เกิดธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ซึ่งเรื่องนี้ในประกาศ ได้ยกให้ไปดูเพื่อให้เกิด การบริหารข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเชื่อมโยง แลกเปลี่ยน และบูรณาการข้อมูล ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน และคุ้มครองข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ
  3. กำหนดมาตรการ เรื่องคุณภาพข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลมี ความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน มั่นคงปลอดภัย และไม่ละเมิดความเป็นส่วนบุคคล รวมทั้งสามารถเชื่อมโยง แลกเปลี่ยน บูรณาการ และใช้ประโยชน์
  4. จัดให้มีการวัดผลการบริหารจัดการข้อมูล โดยอย่างน้อยจะต้องมี การประเมินความพร้อม การประเมินคุณภาพ และการประเมินความมั่นคงปลอดภัย
  5. จัดให้มีการจำแนกหมวดหมู่ของข้อมูล (Data Classification) เพือกำหนดนโยบายหรือกฎเกณฑ์ การเข้าถึง และการใช้ประโยชน์ข้อมูล ของผู้มีหน้าที่ ที่จะต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ให้ถูกต้อง โดยสอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  6. จัดให้มีคำอธิบายชุดและบัญชีข้อมูล (Data Dictionary, Data Definition) ให้มีความถูกต้อง ครบถ้วน และให้เป็นปัจจุบัน </aside>